โดยรวมของการแพทย์แผนไทยนั้น ได้แบ่งสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วย ออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ
1.สาเหตุจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ภูตผีปีศาจ เจ้ากรรมนายเวร ถูกคุณไสย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โดนของบ้าง ลมเพลมพัดบ้าง การรักษานั้นจำเป็นต้องใช้ผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ผู้ฝึกสมาธิจนมีพลังจิตสูง จึงจะบำบัดรักษา หรือ ผ่อนปรนให้อาการเบาลงได้
2..สาเหตุมาจากธรรมชาติในร่างกาย คือ เกิดจากการผิดปกติของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่อยู่ในร่างกาย เมื่อธาตุทั้ง 4 ไม่สมดุลย์ก็จะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย การรักษานั้นจะใช้ยาสมุนไพรเป็นหลักในการรักษาตามอาการเจ็บป่วย
1.สาเหตุจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ภูตผีปีศาจ เจ้ากรรมนายเวร ถูกคุณไสย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โดนของบ้าง ลมเพลมพัดบ้าง การรักษานั้นจำเป็นต้องใช้ผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ผู้ฝึกสมาธิจนมีพลังจิตสูง จึงจะบำบัดรักษา หรือ ผ่อนปรนให้อาการเบาลงได้
2..สาเหตุมาจากธรรมชาติในร่างกาย คือ เกิดจากการผิดปกติของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่อยู่ในร่างกาย เมื่อธาตุทั้ง 4 ไม่สมดุลย์ก็จะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย การรักษานั้นจะใช้ยาสมุนไพรเป็นหลักในการรักษาตามอาการเจ็บป่วย
ก. ธาตุดิน ( ปถวีธาตุ) มีที่ตั้งในร่างกายมนุษย์ 20 ประการได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ หัวใจ ตับ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม สมองศรีษะ กระเพาะ ไต พังพืด อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งการจะมีธาตุดินที่สมบูรณ์และมีอวัยวะธาตุดินตามที่กล่าวมา ให้แข็งแรงนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ
1. มีหัวใจที่สมบูรณ์
2. กินอาหารที่ดี
3. มีการขับถ่ายสะดวก
2. กินอาหารที่ดี
3. มีการขับถ่ายสะดวก
หรือพูดให้ยากๆว่า ธาตุดินถูกควบคุมด้วยหทัยวัตถุ อุทริยะ และ กรีสะ ถ้าหากสิ่งใดผิดปกติก็จะมีผลกระทบ วีสติปัถวีให้เกิดมีปัญหากับ ธาตุดินทั้ง 20 ประการ
ข. ธาตุน้ำ ( อาโปธาตุ) ร่างกายคนจะมีประกอบด้วยธาตุน้ำ 12 ชนิด คือ น้ำดี เสมหะ หนอง โลหิต เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก และไขข้อ ไหลไปมาและซึมซับทั่วไปในร่างกาย ซึ่งความสมบูรณ์ของระบบธาตุน้ำในร่างกายรวมถึงการดูดซับน้ำในลำไส้ต่างๆตลอดจนการกำจัดของเสีย จะขึ้นกับต่อมที่เกิดน้ำมูก เมือกต่างๆว่าสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าแบ่งพิจารณาจะแบ่งการควบคุมน้ำได้ 3 ส่วน คือ
1. ศอเสมหะ คือ น้ำมูก เมือกส่วนบน ตั้งแต่คอขึ้นไป
2.อุระเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนกลาง ตั้งแต่คอ ลงมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ตอนบน
3.คูถเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนล่าง ตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ตอนปลายถึงทวารหนัก
2.อุระเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนกลาง ตั้งแต่คอ ลงมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ตอนบน
3.คูถเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนล่าง ตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ตอนปลายถึงทวารหนัก
ถ้าส่วนใดเสียหายหรือปรวนแปร ก็จะมีผลถึง ทวาทศอาโป หรือ ธาตุน้ำทั้ง 12 อย่างที่อยู่ในร่างกายให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
ค. ธาตุลม ( วาโยธาตุ) เป็นธาตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การที่เราจะเดินได้ ยกแขนยกขา หรือแม้แต่การไหลของเลือด การเคลื่อนไหวของปอด ล้วนแต่เกิดจากธาตุลมทั้งสิ้น ธาตุลมในร่างกายแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน คือ
ลมพัดขึ้นเบื้องบนจากปลายเท้าถึงศรีษะ
ลมพัดลงเบื้องล่างจากศรีษะถึงปลายเท้า
ลมพัดในท้องนอกลำไส้
ลมพัดในลำไส้และกระเพาะ
ลมพัดทั่วร่างกาย
ลมหายใจเข้าออก
ลมพัดลงเบื้องล่างจากศรีษะถึงปลายเท้า
ลมพัดในท้องนอกลำไส้
ลมพัดในลำไส้และกระเพาะ
ลมพัดทั่วร่างกาย
ลมหายใจเข้าออก
ธาตุลมทั้ง 6 อย่างนี้จะถูกควบคุมโดย ลมอีก 3 ชนิดคือ
1.หทัยวาตะ เกี่ยวกับจิตใจ
2.สัตถกวาตะ เกี่ยวกับระบบการทำงานของประสาทและเส้นเลือดเล็กทั่วไป
3.สุมนาวาตะ คือเส้นกลางตัว ประสาทกลางตัวหรือไขสันหลัง
2.สัตถกวาตะ เกี่ยวกับระบบการทำงานของประสาทและเส้นเลือดเล็กทั่วไป
3.สุมนาวาตะ คือเส้นกลางตัว ประสาทกลางตัวหรือไขสันหลัง
ถ้าวาตะอย่างใดใน 3 อย่างนี้เสียหายก็จะกระทบกับธาตุลมทั้ง 6
ง. ธาตุไฟ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของมนุษย์ ทำให้ลมและน้ำเคลื่อนไหว ทำให้ธาตุดินอบอุ่น ไฟในร่างกายมี 4 อย่างคือ
1. ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น
2. ไฟทำให้ร้อน ระส่ำระสาย
3. ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม
4. ไฟย่อยอาหาร
2. ไฟทำให้ร้อน ระส่ำระสาย
3. ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม
4. ไฟย่อยอาหาร
ธาตุไฟถูกควบคุมโดย ดีและความร้อน คือ
พัทธปิตตะ ดีที่อยู่ในฝัก
อพัทธปิตตะ ดีที่อยู่นอกฝัก
กำเดา องค์แห่งความร้อน
อพัทธปิตตะ ดีที่อยู่นอกฝัก
กำเดา องค์แห่งความร้อน
จะเห็นได้ว่า ดี กับ ธาตุไฟมีความเกี่ยวข้องกันมาก โบราณจึงมีคำกล่าวเช่นว่า "บ้าดีเดือด " คือถ้าดีร้อนมากๆก็ทำให้บ้าหรือไม่สบายนั่นเอง
3.สาเหตุเนื่องจากพลังแห่งจักรวาล คือ พลังของดวงดาว จักรราศี (พระอาทิตย์สถิตในราศีต่างๆ 12 ตำแหน่ง เกิดเป็น 12 ราศี เช่น ราศีเมษ ราศีพิจิก ราศีธนู เป็นต้น ) บางพลังส่งผลให้สุขภาพดี บางพลังมีผลทำลายสุขภาพ ของแต่ละคนแตกต่างกันไป บางอย่างก็เรียกว่า ดาวเคราะห์เสวยอายุ ซึ่งมีรายละเอียดในคัมภีร์มหาทักษา ในต่างประเทศก็มีลักษณะการแพทย์แบบนี้เช่นกัน เรียกว่า โหราศาสตร์การแพทย์ Medical Astrology
http://www.dmc.tv/multimedia.php?program=live#
####################################
####################################
ความซื่อสัตย์(integrity)
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ
การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์ การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่ออื่นไม่ได้
ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น
คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน
คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้ นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง
การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น คนฟังยิ่งมากยิ่งดี
ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน
แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น
แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้ ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ นี่เอง
การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม
จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น
เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่
หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม
เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน เช่นคุณทำก่อน
เธอทำก่อน แล้วผมค่อยทำ แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที
ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ
ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่
ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์
แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย