วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแพทย์แผนไทย

โดยรวมของการแพทย์แผนไทยนั้น ได้แบ่งสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วย ออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ
            1.สาเหตุจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ภูตผีปีศาจ เจ้ากรรมนายเวร ถูกคุณไสย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โดนของบ้าง ลมเพลมพัดบ้าง การรักษานั้นจำเป็นต้องใช้ผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ผู้ฝึกสมาธิจนมีพลังจิตสูง จึงจะบำบัดรักษา หรือ ผ่อนปรนให้อาการเบาลงได้
            2..
สาเหตุมาจากธรรมชาติในร่างกาย คือ เกิดจากการผิดปกติของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่อยู่ในร่างกาย เมื่อธาตุทั้ง 4 ไม่สมดุลย์ก็จะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย การรักษานั้นจะใช้ยาสมุนไพรเป็นหลักในการรักษาตามอาการเจ็บป่วย
           

ก. ธาตุดิน ( ปถวีธาตุ) มีที่ตั้งในร่างกายมนุษย์ 20 ประการได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ หัวใจ ตับ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม สมองศรีษะ กระเพาะ ไต พังพืด อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งการจะมีธาตุดินที่สมบูรณ์และมีอวัยวะธาตุดินตามที่กล่าวมา ให้แข็งแรงนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ
1. มีหัวใจที่สมบูรณ์
2. กินอาหารที่ดี
3. มีการขับถ่ายสะดวก
หรือพูดให้ยากๆว่า ธาตุดินถูกควบคุมด้วยหทัยวัตถุ อุทริยะ และ กรีสะ ถ้าหากสิ่งใดผิดปกติก็จะมีผลกระทบ วีสติปัถวีให้เกิดมีปัญหากับ ธาตุดินทั้ง 20 ประการ



ข. ธาตุน้ำ ( อาโปธาตุ) ร่างกายคนจะมีประกอบด้วยธาตุน้ำ 12 ชนิด คือ น้ำดี เสมหะ หนอง โลหิต เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก และไขข้อ ไหลไปมาและซึมซับทั่วไปในร่างกาย ซึ่งความสมบูรณ์ของระบบธาตุน้ำในร่างกายรวมถึงการดูดซับน้ำในลำไส้ต่างๆตลอดจนการกำจัดของเสีย จะขึ้นกับต่อมที่เกิดน้ำมูก เมือกต่างๆว่าสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าแบ่งพิจารณาจะแบ่งการควบคุมน้ำได้ 3 ส่วน คือ
1. ศอเสมหะ คือ น้ำมูก เมือกส่วนบน ตั้งแต่คอขึ้นไป
2.อุระเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนกลาง ตั้งแต่คอ ลงมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ตอนบน

3.คูถเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนล่าง ตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ตอนปลายถึงทวารหนัก
ถ้าส่วนใดเสียหายหรือปรวนแปร ก็จะมีผลถึง ทวาทศอาโป หรือ ธาตุน้ำทั้ง 12 อย่างที่อยู่ในร่างกายให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ




ค. ธาตุลม ( วาโยธาตุ) เป็นธาตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การที่เราจะเดินได้ ยกแขนยกขา หรือแม้แต่การไหลของเลือด การเคลื่อนไหวของปอด ล้วนแต่เกิดจากธาตุลมทั้งสิ้น ธาตุลมในร่างกายแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน คือ
ลมพัดขึ้นเบื้องบนจากปลายเท้าถึงศรีษะ
ลมพัดลงเบื้องล่างจากศรีษะถึงปลายเท้า
ลมพัดในท้องนอกลำไส้
ลมพัดในลำไส้และกระเพาะ
ลมพัดทั่วร่างกาย
ลมหายใจเข้าออก
ธาตุลมทั้ง 6 อย่างนี้จะถูกควบคุมโดย ลมอีก 3 ชนิดคือ
1.หทัยวาตะ เกี่ยวกับจิตใจ
2.สัตถกวาตะ เกี่ยวกับระบบการทำงานของประสาทและเส้นเลือดเล็กทั่วไป
3.สุมนาวาตะ คือเส้นกลางตัว ประสาทกลางตัวหรือไขสันหลัง
ถ้าวาตะอย่างใดใน 3 อย่างนี้เสียหายก็จะกระทบกับธาตุลมทั้ง 6



ง. ธาตุไฟ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของมนุษย์ ทำให้ลมและน้ำเคลื่อนไหว ทำให้ธาตุดินอบอุ่น ไฟในร่างกายมี 4 อย่างคือ
1. ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น
2. ไฟทำให้ร้อน ระส่ำระสาย
3. ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม
4. ไฟย่อยอาหาร
ธาตุไฟถูกควบคุมโดย ดีและความร้อน คือ
พัทธปิตตะ ดีที่อยู่ในฝัก
อพัทธปิตตะ ดีที่อยู่นอกฝัก
กำเดา องค์แห่งความร้อน
จะเห็นได้ว่า ดี กับ ธาตุไฟมีความเกี่ยวข้องกันมาก โบราณจึงมีคำกล่าวเช่นว่า "บ้าดีเดือด " คือถ้าดีร้อนมากๆก็ทำให้บ้าหรือไม่สบายนั่นเอง
3.สาเหตุเนื่องจากพลังแห่งจักรวาล คือ พลังของดวงดาว จักรราศี (พระอาทิตย์สถิตในราศีต่างๆ 12 ตำแหน่ง เกิดเป็น 12 ราศี เช่น ราศีเมษ ราศีพิจิก ราศีธนู เป็นต้น ) บางพลังส่งผลให้สุขภาพดี บางพลังมีผลทำลายสุขภาพ ของแต่ละคนแตกต่างกันไป บางอย่างก็เรียกว่า ดาวเคราะห์เสวยอายุ ซึ่งมีรายละเอียดในคัมภีร์มหาทักษา ในต่างประเทศก็มีลักษณะการแพทย์แบบนี้เช่นกัน เรียกว่า โหราศาสตร์การแพทย์ Medical Astrology
           
 http://www.dmc.tv/multimedia.php?program=live#












####################################



ความซื่อสัตย์(integrity)

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่ออื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น