วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบหมุนเวียนเลือด
เมื่ออาหารถูกย่อยจนเล็กที่สุด แพร่เข้าสู่ผนังลำไส้เล็กและแพร่ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดแล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกับเลือด  ระบบการหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด
         


          หัวใจ(Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง    
-หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium)       มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด    
-หัวใจห้องบนขวา(Right atrium)      มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว   
 -หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle)  มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด    
-หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
     ระหว่างหัวใจซีกซ้ายและซีกขวามีผนังที่เหนียว หนา และแข็งแรงกั้นไว้ และระหว่างห้องหัวใจด้านบนและด้านล่างของแต่ละซีก มีลิ้นของหัวใจคอยปิดกั้นมิให้เลือดไหลย้อนกลับ ดังนั้น การไหลเวียนของเลือดจึงเป็นการไหลไปในทางเดียวกันตลอด  ซึ่ง วิลเลียม ฮาร์วีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบการหมุนเวียนของเลือด และชี้ให้เห็นว่า เลือดมีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน
          เส้นเลือด(Blood  Vessel) คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง  เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย         
http://www.heartandcoeur.com/celebrity/page_harvey.php
     การไหลเวียนของเลือดเริ่มโดยห้องบนขวารับเลือดดำที่ร่างกายใช้แล้ว ส่งไปยังห้องล่างขวา  ห้องล่างขวาจะฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอด   ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดจะเข้าสู่หัวใจทางห้องบนซ้ายแล้วส่งต่อมายังห้องล่างซ้าย  หัวใจก็จะฉีดเลือดแดงออกจากห้องล้างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่  ซึ่งต่อมาก็แยกออกเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย  เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เลือดที่ใช้แล้วก็จะไหลกลับมาที่หัวใจทางห้องบนขวาอีก  จะหมุนเวียนเช่นนี้ไปตลอดชีวิต เพื่อให้เห็นชัดเจนขอให้ดูแผนภาพต่อไปนี้

 1. นำอาหารและสารอื่น ๆ รวมทั้งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย    
2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกลับมาใช้    
3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาโบลิซึมเพื่อขับออกภายนอกร่างกาย     
4. ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย    
5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ
     ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดจากหัวใจด้วยความดันสูงทำให้เลือดไปเลี้ยง
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนั้นก็จะมีความดันน้อยที่สุด ความดันเลือดที่แพทย์วัดออกมาได้ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอทจึงมีสองค่า
  เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท     ตัวเลข   110 แสดงค่าของความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวเพื่อดันเลือดออกจากหัวใจ     ตัวเลข   70   แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ     ถ้าเราเอานิ้วมือจับที่ข้อมือด้านซ้าย  จะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ภายใน  สิ่งนั้นเรียกว่า  ชีพจรชีพจรเป็นการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ  โดยคนหนุ่มสาวปกติชีพจรจะเต้นประมาณ 70 80  ครั้ง /นาที  ในวัยเด็กที่มีสภาพร่างการปกติชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่  การออกกำลังกายก็มีผลต่ออัตราการเต้นของชีพจร  การออกกำลังกายทำให้ร่างกายต้องการพลังงานสูงขึ้นกว่าปกติ  จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดมากขึ้น  การสูบฉีดเลือดจึงต้องสูงขึ้น  จะพบว่าชีพจรก็จะเต้นเร็วขึ้น  หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น  จึงกล่าวได้ว่าการเต้นของชีพจรสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกายเครื่องมือที่ใช้ในการฟังการเต้นของชีพจรคือ สเตโทสโคป  (stethoscope)
  ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นหน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ดังนี้    
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์
3. พักผ่อนให้มาก เพราะการพักผ่อนนอนหลับจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง
4. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัย
5. ทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง
  ไม่เครียด
6. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด
*ม้าม(Spleen) มีหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดขาว และทำลายเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดที่หมดอายุ

      เลือด(Blood)  ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือพลาสมา(Plasma) และเม็ดเลือดซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด(Platelet)   เม็ดเลือดแดงมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีนและเหล็กมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน ก๊าซออกซิเจน จะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เม็ดเลือดขาวซึ่งผลิตโดยม้าม* จะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย  ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล     น้ำเลือดประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ที่เหลื่อเป็นสารอาหารต่าง ๆ เช่นโปรตีน  วิตามิน  แร่ธาตุ  เอนไซม์  และก๊าซ


ระบบขับถ่าย
ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์  ร่างกายต้องใช้พลังงาน  การเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
1. สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
2.
 สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ   ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป  ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ  ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ  ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
            อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
            อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)           

 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง            
  -อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ  ได้แก่ ไต  หลอดไต  กระเพาะปัสสาวะ             
 -อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ
1.  การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
            การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ  5  ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5  นิ้ว  เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร  ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น     ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป  เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
สาเหตุของอาการท้องผูก
1.
  กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
2.
  กินอาหารรสจัด
3.
  การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
4.
  ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
5.
  สูบบุหรี่จัดเกินไป
6.
  เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก            โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร  ซึ่งจะทำให้เกิด
อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
2.  การขับถ่ายของเสียทางปอด
            เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด
  แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก
ร่างกายทางจมูก
 3.  การขับถ่ายของเสียทางไต
            จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต  โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ

ไต
  มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง   6 เซนติเมตร และหนา  3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ  ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก            กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต  หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา  ส่วนของเสียอื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร            ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
- ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
- ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
- การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

4.  การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
       ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ 
            เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ  ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล  แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย            ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย  โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย  ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส
  การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย1.  ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
2.
  ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
3.
  ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
4.
  ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
5.
  ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
ระบบหายใจ
           จากความรู้ในระบบหมุนเวียนเลือด  นอกจากเลือดจะลำเลียงอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว ภายในเลือดยังมีแก๊สสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ แก๊สออกซิเจน(O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อยู่ด้วย
ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย  อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่  จมูก  หลอดลม ปอด  กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง        
  จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกายและรับรู้กลิ่น  ภายในจมูกจะมีขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองและมีเยื่อเมือกหนาบุอยู่ คอยดักจับเชื้อโรคและมีกลุ่มประสาทสัมผัสกลิ่นคอยรับกลิ่น  อากาศที่สูดหายใจเข้าไปเมื่อผ่านโพรงจมูกแล้วจะลงสู่คอหอย  ลิ้นไก่ จะช่วยปิดโพรงจมูกและช่องปากเพื่อมิให้อากาศไหลกลับ         
หลอดลม จะทอดลงไปในช่องอกปลายแยก เป็นขั้วปอดทั้งสองข้าง เป็นท่อทางผ่านของอากาศและออกจากปอดที่ใหญ่ที่สุด         
ปอด  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถุงเหล่านี้ยืดหยุ่นและหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกทั้งสองข้าง ตรงกลางระหว่างขั้วปอดเป็นที่ตั้งของหัวใจ  ปอดซีกขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดซีกซ้าย  ปอดทั้งสองข้างทำหน้าที่เหมือนกันคือฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง  โดยการถ่ายเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และน้ำ(H2O)  ออก  แล้วเติมออกซิเจน(O2 )  เข้าไป
            กระบังลมและซี่โครง  เป็นกลไกในการหายใจ  กล่าวคือ ขณะที่ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก  สมองจะสั่งงานมายังกระบังลมและซี่โครง ให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการหายใจเข้า หรือ ขณะที่กระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก
            โดยทั่ว ๆ ไปแล้วคนปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 14-18 ครั้งต่อนาที การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ  เราไม่สามารถกลั้นหายใจได้เกิน 1 นาที อย่างไรก็ตามอัตราการหายใจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้           
1.อายุ                   
   - เด็กทารกหายใจประมาณ 3040 ครั้งต่อนาที             
  - ผู้ใหญ่ หายใจประมาณ 12-16 ครั้งต่อนาที          
  2.ภาวะของร่างกาย             
  - ขณะที่ออกกำลังกายหรือเป็นไข้ การหายใจจะเร็วหรือแรงเพื่อให้ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจน             
 - ขณะนอนหลับ ร่างกายจะทำงานน้อยลง จึงต้องการก๊าซออกซิเจนน้อยกว่าปกติ การหายใจจะช้าลง           
        กล่าวโดยสรุป สภาพของร่างกาย  การวิตกกังวล  อารมณ์  กิจกรรมที่ทำและวัย  มีผลต่ออัตราการหายใจ  เด็กทารกจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1.
  พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อปอดจะได้รับก๊าซออกซิเจนเพียงพอ
2.
  ไม่สวมเสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดตึงจนเกินไป เพราะปอดจะขยายตัวไม่สะดวก
3.
  สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นอยู่เสมอ  ในขณะที่อากาศเย็น
4.
  ไม่สูบบุหรี่ และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือวัณโรค  เพราะอาจจะติดเชื้อได้
5.
  ยืนหรือนั่งตัวตรง เพื่อให้ปอดทำงานได้สะดวก
6.
  ควรออกกำลังกายอยู่เสมอ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแพทย์แผนไทย

โดยรวมของการแพทย์แผนไทยนั้น ได้แบ่งสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วย ออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ
            1.สาเหตุจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ภูตผีปีศาจ เจ้ากรรมนายเวร ถูกคุณไสย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โดนของบ้าง ลมเพลมพัดบ้าง การรักษานั้นจำเป็นต้องใช้ผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ผู้ฝึกสมาธิจนมีพลังจิตสูง จึงจะบำบัดรักษา หรือ ผ่อนปรนให้อาการเบาลงได้
            2..
สาเหตุมาจากธรรมชาติในร่างกาย คือ เกิดจากการผิดปกติของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่อยู่ในร่างกาย เมื่อธาตุทั้ง 4 ไม่สมดุลย์ก็จะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย การรักษานั้นจะใช้ยาสมุนไพรเป็นหลักในการรักษาตามอาการเจ็บป่วย
           

ก. ธาตุดิน ( ปถวีธาตุ) มีที่ตั้งในร่างกายมนุษย์ 20 ประการได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ หัวใจ ตับ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม สมองศรีษะ กระเพาะ ไต พังพืด อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งการจะมีธาตุดินที่สมบูรณ์และมีอวัยวะธาตุดินตามที่กล่าวมา ให้แข็งแรงนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ
1. มีหัวใจที่สมบูรณ์
2. กินอาหารที่ดี
3. มีการขับถ่ายสะดวก
หรือพูดให้ยากๆว่า ธาตุดินถูกควบคุมด้วยหทัยวัตถุ อุทริยะ และ กรีสะ ถ้าหากสิ่งใดผิดปกติก็จะมีผลกระทบ วีสติปัถวีให้เกิดมีปัญหากับ ธาตุดินทั้ง 20 ประการ



ข. ธาตุน้ำ ( อาโปธาตุ) ร่างกายคนจะมีประกอบด้วยธาตุน้ำ 12 ชนิด คือ น้ำดี เสมหะ หนอง โลหิต เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก และไขข้อ ไหลไปมาและซึมซับทั่วไปในร่างกาย ซึ่งความสมบูรณ์ของระบบธาตุน้ำในร่างกายรวมถึงการดูดซับน้ำในลำไส้ต่างๆตลอดจนการกำจัดของเสีย จะขึ้นกับต่อมที่เกิดน้ำมูก เมือกต่างๆว่าสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าแบ่งพิจารณาจะแบ่งการควบคุมน้ำได้ 3 ส่วน คือ
1. ศอเสมหะ คือ น้ำมูก เมือกส่วนบน ตั้งแต่คอขึ้นไป
2.อุระเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนกลาง ตั้งแต่คอ ลงมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ตอนบน

3.คูถเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนล่าง ตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ตอนปลายถึงทวารหนัก
ถ้าส่วนใดเสียหายหรือปรวนแปร ก็จะมีผลถึง ทวาทศอาโป หรือ ธาตุน้ำทั้ง 12 อย่างที่อยู่ในร่างกายให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ




ค. ธาตุลม ( วาโยธาตุ) เป็นธาตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การที่เราจะเดินได้ ยกแขนยกขา หรือแม้แต่การไหลของเลือด การเคลื่อนไหวของปอด ล้วนแต่เกิดจากธาตุลมทั้งสิ้น ธาตุลมในร่างกายแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน คือ
ลมพัดขึ้นเบื้องบนจากปลายเท้าถึงศรีษะ
ลมพัดลงเบื้องล่างจากศรีษะถึงปลายเท้า
ลมพัดในท้องนอกลำไส้
ลมพัดในลำไส้และกระเพาะ
ลมพัดทั่วร่างกาย
ลมหายใจเข้าออก
ธาตุลมทั้ง 6 อย่างนี้จะถูกควบคุมโดย ลมอีก 3 ชนิดคือ
1.หทัยวาตะ เกี่ยวกับจิตใจ
2.สัตถกวาตะ เกี่ยวกับระบบการทำงานของประสาทและเส้นเลือดเล็กทั่วไป
3.สุมนาวาตะ คือเส้นกลางตัว ประสาทกลางตัวหรือไขสันหลัง
ถ้าวาตะอย่างใดใน 3 อย่างนี้เสียหายก็จะกระทบกับธาตุลมทั้ง 6



ง. ธาตุไฟ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของมนุษย์ ทำให้ลมและน้ำเคลื่อนไหว ทำให้ธาตุดินอบอุ่น ไฟในร่างกายมี 4 อย่างคือ
1. ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น
2. ไฟทำให้ร้อน ระส่ำระสาย
3. ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม
4. ไฟย่อยอาหาร
ธาตุไฟถูกควบคุมโดย ดีและความร้อน คือ
พัทธปิตตะ ดีที่อยู่ในฝัก
อพัทธปิตตะ ดีที่อยู่นอกฝัก
กำเดา องค์แห่งความร้อน
จะเห็นได้ว่า ดี กับ ธาตุไฟมีความเกี่ยวข้องกันมาก โบราณจึงมีคำกล่าวเช่นว่า "บ้าดีเดือด " คือถ้าดีร้อนมากๆก็ทำให้บ้าหรือไม่สบายนั่นเอง
3.สาเหตุเนื่องจากพลังแห่งจักรวาล คือ พลังของดวงดาว จักรราศี (พระอาทิตย์สถิตในราศีต่างๆ 12 ตำแหน่ง เกิดเป็น 12 ราศี เช่น ราศีเมษ ราศีพิจิก ราศีธนู เป็นต้น ) บางพลังส่งผลให้สุขภาพดี บางพลังมีผลทำลายสุขภาพ ของแต่ละคนแตกต่างกันไป บางอย่างก็เรียกว่า ดาวเคราะห์เสวยอายุ ซึ่งมีรายละเอียดในคัมภีร์มหาทักษา ในต่างประเทศก็มีลักษณะการแพทย์แบบนี้เช่นกัน เรียกว่า โหราศาสตร์การแพทย์ Medical Astrology
           
 http://www.dmc.tv/multimedia.php?program=live#












####################################



ความซื่อสัตย์(integrity)

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่ออื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย